ยินดีต้อนรับ

"ยินดีต้อนรับ สู่ :แนวๆเด็กวิทย์ >by Su"

หัวใจ

ลูกโป่ง

แมลงปอ

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

ความซ่อสัตย์

“ ความซื่อสัตย์ ( Integrity ) ” ในการทำงาน .... สำคัญไฉน
                  1. การได้รับ ความไว้วางใจ จากหัวหน้างานของคุณ พนักงานที่มีความซื่อสัตย์ย่อมทำให้หัวหน้างานพร้อมและกล้าพอที่จะมอบหมายงานที่สำคัญหรือเป็นความลับของบริษัทให้กับคุณ เพราะหัวหน้าไว้วางใจตัวคุณเพราะรู้ว่างานที่มอบหมายให้ไปนั้นคุณต้องทำเสร็จและข้อมูลที่คุณทำนั้นมีความถูกต้องอย่างแน่นอน
          2. ความน่าเชื่อถือ ได้ของตัวคุณ คุณจะได้รับการยอมรับและการกล่าวถึงในทางที่ดีจากบุคคลรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือแม้กระทั่งลูกค้าของคุณเอง เช่น ยอมรับว่าคุณมีความรับผิดชอบและความตั้งใจทำงาน เนื่องจากคุณไม่เคยที่จะขาดงานหรือมาสาย รวมทั้งข้อมูลที่คุณให้นั้นมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันเสมอ
          3. สร้างผลงาน ( Performance) ของตัวคุณ ความซื่อสัตย์ทำให้คุณมีโอกาสทำงานใหญ่หรือสำคัญ ซึ่งอาจเป็นงานที่มีผลกระทบต่อหน่วยงานหรือองค์การ โดยคุณจะมีโอกาสแสดงฝีมือการทำงานของคุณและโอกาสนี้เองย่อมจะส่งผลต่อเนื่องไปยังผลผลการปฏิบัติงาน     ( Performance) และมูลค่าเพิ่ม ( Added Value) ของตัวคุณเอง
          4. รักษาผลประโยชน์ของหน่วยงาน/บริษัท หากคุณมีความซื่อสัตย์แล้วล่ะก็ ย่อมหมายถึงคุณไม่ได้เอาเปรียบหน่วยงานและบริษัท เนื่องจากคุณทำงานอย่างเต็มที่ ได้ปฏิบัติตามระเบียบและรักษาทรัพย์สินของบริษัท และรวมถึงคุณไม่เอาความลับของบริษัทไปเปิดเผยให้คู่แข่งรับรู้ ซึ่งหมายถึงคุณกำลังรักษาผลประโยชน์ให้กับหน่วยงานและบริษัทของคุณเอง
          มาถึงคำถามที่ว่า หากจะวัดหรือประเมินความซื่อสัตย์ได้อย่างไร เช่น หากถามว่านาย ก มีความซื่อสัตย์มากกว่านาย ข นั้น เราจะพิจารณาหรือประเมินได้จากอะไรได้บ้าง และเพื่อทำให้องค์การสามารถประเมินหรือวัดความซื่อสัตย์ได้ จึงทำให้องค์การได้กำหนดความซื่อสัตย์เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถอย่างหนึ่ง ( Competency) ซึ่งสามารถกำหนดได้เป็นความสามารถหลัก ( Core Competency) ที่เป็นความสามารถหรือพฤติกรรมที่ใช้วัดหรือประเมินพนักงานสำหรับทุกคนและทุกตำแหน่งงาน นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดเป็นความสามารถในงาน ( Job Competency) ได้อีกด้วย ซึ่งพฤติกรรมของความซื่อสัตย์นั้นสามารถกำหนดเป็นพฤติกรรมออกมาแยกเป็นระดับต่าง ๆ เพื่อใช้ประเมินผลและพัฒนาพนักงานได้ โดยขอยกตัวอย่างของการแบ่งพฤติกรรมความซื่อสัตย์

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

ระบบย่อยอาหาร

อวัยวะในระบบย่อยอาหารของคน

อวัยวะในระบบย่อยอาหารของคน  แบ่งออกเป็น  2  ส่วน  คือ
1.  อวัยวะที่เป็นทางเดินอาหาร  ได้แก่
      1.1  ปากและโพรงปาก  (Mouth  and  Mouth Cavity)  ประกอบด้วย
              -    ฟัน
              -    ลิ้น
              -    ต่อมน้ำลาย
      1.2  คอหอย  (Pharynx)
      1.3  หลอดอาหาร  (Esophagus)
      1.4  กระเพาะอาหาร  (Stomach)
      1.5  ลำไส้เล็ก  (Small Intestine)
      1.6  ลำไส้ใหญ่  (Large Intestine)
      1.7  ไส้ตรง  (Rectum)
      1.8  ทวารหนัก  (Anus)
2.  อวัยวะที่ช่วยย่อยอาหาร  แต่ไม่ใช่ทางเดินอาหารได้แก่
      2.1  ต่อมน้ำลาย  (Salivary Gland)
      2.2  ตับ  (Liver)  และถุงน้ำดี  (Gall Bladder)
      2.3  ตับอ่อน  (Pancreas) 
การย่อยอาหารของคนมีกระบวนการย่อย 2 แบบ คือ
1. การย่อยเชิงกล (Mechanical Digestion) โดยการใช้ฟันบดเคี้ยว และการบตัวคลายตัวของทางเดินอาหาร เช่น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร เป็นต้น
2. การย่อยทางเคมี (Chemical Digestion) โดยการใช้น้ำย่อย หรือ เอนไซม์ ทำให้อาหารเปลี่ยนแปลงจนเป็นโมเลกุลเดี่ยว ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้